กรมทางหลวง
DEPARTMENT OF HIGHWAYS
ระบบทางหลวงที่สะดวกปลอดภัยเชื่อมโยงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
สิทธิและขั้นตอนการอุทธรณ์

สิทธิและขั้นตอนการอุทธรณ์

1 สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 18 จากกรณีที่
     1) หน่วยงานของรัฐปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ขอตรวจดูหรือขอสำเนาหรือสำเนาพร้อมคำรับรองความถูกต้อง
     2) หน่วยงานของรัฐไม่รับฟังคำคัดค้านโดยจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำขอ


2 สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
     1) ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการด้วยเหตุดังกล่าว
     2) การอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการโดยแนบสำเนาหลักฐานไปด้วย
     3) ส่งหนังสือไปที่ประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กทม. 10300
     4) การอุทธรณ์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น

ข้อแนะนำในการอุทธรณ์

1. ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ
2. ข้อความที่ควรระบุในหนังสืออุทธรณ์

   1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้อุทธรณ์ ได้แก่
         - ชื่อ-นามสกุล  ที่อยู่  หรือสถานที่ติดต่อโดยสะดวก  และหมายเลขโทรศัพท์
         - วันที่ที่ยื่นคำอุทธรณ์
   2) รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและการกระทำที่เป็นเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์ ได้แก
         - ชื่อหน่วยงาน
         - ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์และการกระทำ หรือคำสั่งที่เป็นมูลเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์ โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นกรณีไม่เปิดเผยข้อมูลที่ท่านขอหรือไม่รับฟังคำคัดค้านของท่าน  หรือไม่ยอมแก้ไขหรือลบข้อมูลที่ท่านขอให้แก้ไข
         - รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นเหตุให้ท่านอุทธรณ์ โดยควรระบุให้ละเอียดชัดเจนและเข้าใจได้ว่าข้อมูลที่ท่านขอดูหรือข้อมูลที่ท่านคัดค้านในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย  หรือข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไขหรือลบ เป็นเรื่องอะไร โดยระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรระบุชื่อและประเภท  ตลอดจนหมายเลขและวันที่ที่กำหนดในเอกสารไว้ด้วย (ถ้ามี)
   3) เอกสารประกอบอื่น ๆ (ถ้ามี)
         หากผู้อุทธรณ์มีเอกสารประกอบอื่น ๆ เช่น สำเนาคำร้องขอข้อมูลข่าวสาร และหรือหนังสือแจ้งคำสั่งของหน่วยงานที่สั่งไม่เปิดเผยหรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของท่าน  หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไข ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) หากจะแนบไปกับคำอุทธรณ์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะได้นำไปใช้ประกอบการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไปได้

3. พยายามหลีกเลียงการเขียนที่พาดพิงไปถึงบุคคลอื่นโดยไม่จำเป็น
4. ถ้ามีข้อขัดข้องในการเขียนอุทธรณ์ 
ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชั้น 2) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 0-2283-4694 โทรสาร 0-2283-4698

แบบหนังสืออุทธรณ์