กรมทางหลวง
DEPARTMENT OF HIGHWAYS
ระบบทางหลวงที่สะดวกปลอดภัยเชื่อมโยงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ทล. เดินหน้าโครงการสำรวจออกแบบทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญด้านตะวันตกยกระดับโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเชื่อมโยงภาคอีสานสู่ประเทศเพื่อนบ้าน รองรับการพัฒนาสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ลงวันที่ 18/02/2565

ทล. เดินหน้าโครงการสำรวจออกแบบทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญด้านตะวันตกยกระดับโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเชื่อมโยงภาคอีสานสู่ประเทศเพื่อนบ้าน รองรับการพัฒนาสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง

 

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายผลักดันให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่  เลี่ยงเมืองอำนาจเจริญด้านทิศตะวันตก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรและยกระดับความปลอดภัยการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและยังเป็นเส้นทางเชื่อมไปยังสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี-สาละวัน)  เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สปป.ลาว และประเทศเวียดนาม ตลอดจนช่วยกระจายความเจริญด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้กับประชาชนในพื้นที่สอดรับกับแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

เนื่องจากปัจจุบันทางหลวงหมายเลข 212 สายหนองคาย–อุบลราชธานี (ถนนชยางกูร) เป็นทางหลวงสายหลักที่เชื่อมโยงการเดินทางจากอุบลราชธานีไปยังมุกดาหาร ซึ่งแนวเส้นทางดังกล่าวผ่านพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญซึ่งมีสภาพทั่วไปเป็นย่านชุมชนและมีข้อจำกัดในการขยายทางหลวงจึงส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงเร่งรัดกรมทางหลวงดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

กรมทางหลวง โดยสำนักสำรวจและออกแบบขานรับนโยบายดังกล่าวเร่งดำเนินการออกแบบโครงการทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญ (ด้านทิศตะวันตก)  จุดเริ่มต้นโครงการจากทางหลวงหมายเลข 212 ที่ กม.518+211 ตัดกับ กม.0+000 ของโครงการทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญ (ด้านทิศตะวันตก)  แนวเส้นทางจะวิ่งขนานกับทางหลวงหมายเลข 212 มุ่งขึ้นไปทางด้านทิศเหนือ ช่วงเริ่มต้นโครงการถึง กม.3+000 อยู่ในพื้นที่ตำบลไก่คำ  โดยที่ กม.12+930 ของโครงการทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญ (ด้านทิศตะวันตก)  ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 202 (ถนนอรุณประเสริฐ)  ที่ กม. 311+354  จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการในพื้นที่ตำบลโนนหนามแท่ง ที่ กม.25+000  ของโครงการทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญ (ด้านทิศตะวันตก)  บรรจบทางหลวงหมายเลข 212 (ถนนชยางกูร) ที่ กม.501+933 ห่างจาก อบต.โนนหนามแท่ง ลงมาทิศเข้าเมืองอำนาจเจริญหรือทิศใต้ประมาณ 800 เมตร ซึ่งอยู่ในทิศไปมุกดาหารหรือทิศเหนือประมาณ 1.6 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ต.ไก่คำ ต.นาจิก ต.ดอนเมย ต.โนนโพธิ์ และ ต.โนนหนามแท่ง รวมระยะทางยาวประมาณ 25 กิโลเมตร โดยใช้วงเงินงบประมาณในการก่อสร้างโครงการ 2,400 ล้านบาท  ปัจจุบันอยู่ระหว่าง เตรียมการออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน และเสนอของบประมาณปี 2566 ในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทั้งนี้หากโครงการมีการเวนคืนที่ดินแล้วจะมีความพร้อมเพื่อเสนอของบประมาณดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2567 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3  ปี มีรายละเอียดงานดังนี้ 

สำหรับรูปแบบโครงการออกแบบเป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร โดยช่องจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านซ้ายกว้าง 2.50 เมตร ไหล่ทางด้านขวากว้าง 1.50 เมตร มีเกาะกลางแบ่งทิศทางการจราจร ความกว้างของเขตทาง 80 เมตร เพื่อสำหรับการขยายถนนในอนาคต

โดยกำหนดให้มีจุดตัดทางแยกทั้งหมด 3 แห?ง มีรายละเอียดดังนี้

  1. จุดเริ่มต้นโครงการถนนทางเลี่ยงเมืองอํานาจเจริญ (ด?านทิศตะวันตก) เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 212 (ถนนชยางกูร) ที่ กม.518+211 รูปแบบโครงการได้ออกแบบเป็นทางแยกในระดับดิน ควบคุมการเดินรถด้วยสัญญาณไฟจราจร มีขนาด 4 ช่องจราจร
  2. จุดตัดโครงการกับทางหลวงหมายเลข 202 (ถนนจักรวรรดิ) บริเวณ กม.311+354 กำหนดให้เป็นรูปแบบทางยกต?างระดับตามแนวถนนเลี่ยงเมืองก?อสร?างเป?นสะพานยกระดับข?ามแยกขนาด 4 ช่องจราจร สามารถขยายเป?น 6 ช?องจราจรได?ในอนาคต ก?อสร?างสะพานเชื่อมเลี้ยวขวา Directional Ramp ขนาด 2 ช?องจราจรแนวเหนือ-ตะวันตก (N-W) ก?อสร?างสะพานช?องทางเลี้ยวต?างระดับ (Ramp) ขนาด 1 ช?องจราจร แนวตะวันตก-ใต? (W-S) 
  3. จุดสิ้นสุดโครงการเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 212 (ถนนชยางกูร) ที่ กม.501+933 โดยรูปแบบโครงการดังกล่าวได้ออกแบบเป็นทางแยกในระดับดิน ควบคุมการเดินรถด้วยสัญญาณไฟจราจร มีขนาด 4 ช่องจราจร

สำหรับรูปแบบโครงสร้างสะพานประกอบด้วย

  • โครงสร้างทางยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับ 1 แห่ง (กม.12+930) บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 202 โครงสร้างเป็นแบบคานคอนกรีตรูปกล่องสี่เหลี่ยมคางหมู (Box Girder) ด้านข้างออกแบบเป็นแผ่นพื้นลักษณะเป็นปีกยื่นออกไปทั้งสองข้าง
  • โครงสร้างสะพานข้ามคลอง 14 แห่ง (ข้ามคลองธรรมชาติและคลองชลประทาน) สะพานข้ามถนนท้องถิ่น 2 แห่ง กม.17+037 และ กม.22+640) รูปแบบโครงสร้างสะพานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาวสะพานมีตั้งแต่ 10 ถึง 20 เมตร โดยลักษณะโครงสร้างสะพานส่วนบนเป็นแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป

โดยตลอดแนวเส้นทางโครงการจะมีการออกแบบจุดกลับรถเป็นระยะ ๆ ตามมาตรฐานกรมทางหลวงเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้เส้นทาง รวมทั้งลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้ทางเดิม ซึ่งโครงการได้มีการออกแบบจุดกลับรถออกเป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย

  • 1. จุดกลับรถแบบเปิดเกาะทั่วไป (Special U-Turn Type I) ทางสายหลัก 9 แห่ง กม.0+100 , กม.1+100 , กม.5+400 , กม.7+037 , กม.9+300 , กม.15+900 , กม.21+300 , กม22+640 และ กม.24+900
  • 2. บริเวณจุดกลับรถใต้สะพานข้ามคลองและข้ามคลองชลประทาน จำนวน 7 แห่ง บริเวณ กม.2+744 กม.2+920 ,  กม.11+150 , กม.11+325 , กม.12+280 , กม.13+010 และ กม.14+050
  • 3. จุดกลับรถลอดใต้ถนนโดยใช้ท่อเหลี่ยม จำนวน 1 แห่ง กม.18+000 รวมจุดกลับรถทั้งหมด 17 แห่ง

 

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงแนวใหม่เพื่อรองรับการเดินทางและภาคขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปยังประเทศเพื่อนบ้านตามแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)  อันเป็นฟันเฟืองสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้าชายแดน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคและประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

---------------------------

สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่

http://www.doh.go.th/

Website : www.doh.go.th

Facebook : @departmentofhighway

Twitter : @prdoh1

---------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์

กรมทางหลวง

วันที่  18  กุมภาพันธ์ 2565


'